วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

งานวิจัย

บทที่ 1
บทนำ

ภูมิหลัง
ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ส่งผลกระทบต่อครอบครัวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะฐานะความเป็นอยู่คนส่วนใหญ่มุ่งหาแต่ ประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง มีความเห็นแก่ตัว ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ขาดความหยั่งคิดไม่รู้จักพอ ขาดคุณธรรม จริยธรรม และความพอเพียงในการดำเนินชีวิต ปฏิบัติตนไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย ซึ่งนับวันการหลงผิดยิ่งทวีความรุ่นแรงขึ้นจนมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชน (ธีระ ชัยยุทธยรรยง. 2544 : 19 )
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะเด็กในวัยนี้ต้องมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญาได้อย่างรวดเร็ว และประสบการณ์ที่เด็กได้รับในช่วงแรกของชีวิต มีอิทธิพลในการพัฒนาในขั้นต่อไป (ดวงเดือน ศาสตรภัทร. 2522 : 10 - 18) ดังนั้น การปลูกฝังนิสัยในการประหยัด อดออม ให้แก่เด็กรู้จักการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ความสงบควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก หากสามารถเริ่มปลูกฝังตั้งแต่เล็กแล้ว ก็ย่อมจะประสบความสำเร็จได้ดีกว่ามาเริ่มเอาตอนโต เนื่องจากเด็กยังเป็นไม้อ่อนที่หัดง่าย (ทิศนา แขมมณี. 2550) การพัฒนาเด็กที่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางสังคมของเด็กจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า พัฒนาการทางด้านสังคมเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตในสังคมเพื่อให้เป็นไปอย่างเรียบง่าย โดยยึดหลักในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมและถูกต้องตามวัฒนธรรม ประเพณี การพัฒนาทางด้านสังคมสามารถส่งเสริมและพัฒนาได้หลากหลายวิธี
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่ประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2550 : 15) และได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงโดยให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2542 : 13) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคม สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา เห็นได้ว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้ในการจัดการศึกษา ทั้งทางด้านการพัฒนาและการใช้หลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับการศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนาและการใช้หลักสูตร ทำหน้าที่ในด้านการพัฒนาสติปัญญาของบุคคล ให้สามารถที่จะพึ่งตนเองในการดำรงชีวิตประจำวันและแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ นภัสวรรณ ชื่นฤาดี (2550 : 88-89) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสาระการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ส่งผลให้เด็กเรียนรู้และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เกิดคุณลักษณะตามกำหนด 3 ด้าน คือด้านการบริโภคด้วยปัญญา ด้านการพึ่งพาตนเอง และด้านการประหยัด สาระการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นส่งเสริมทักษะและการเรียนรู้ที่หลากหลายของเด็ก และยังส่งผลให้เด็กได้รับพัฒนาการในทุกด้าน สนุกกับการเรียนรู้ มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน พระขวัญชัย ศรีพรรณ์ (2546 : 68) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลของการสอนนักเรียนแบบอริยสัจกับการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อการใช้แนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้การวิจัยที่พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบอริยสัจกับการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์มีการใช้แนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทิศนา แขมมณี ได้แนะนำว่า หลักสูตรจึงควรประกอบด้วยสาระที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและปัญหาในการดำรงชีวิต โดยบูรณาการความรู้ ทักษะ และเจตคติจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและมีการพัฒนาในเรื่องนั้น ๆ (ทิศนา แขมมณี. 2550 : 10 – 13) โดยการใช้หลักพึ่งตนเอง 5 ประการ คือ 1) ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเอง มีจิตใจที่เข็มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม มีจิตใจเอื้ออาทร ประนีประนอม ซื่อสัตย์สุจริต เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง 2) ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ชุมชนที่แข็งแรงเป็นอิสระ 3) ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาดพร้อมทั้งการเพิ่มมูลค่าโดยให้ยึดหลักของการหยั่งยื่นและเกิดประโยชน์สูงสุด 4) ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและควรพัฒนา เทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่มีทั้งดีและไม่ดี จึงต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านและเลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการของสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ สังคมไทย และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง 5) ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ สมควรตามอัตตภาพและฐานะของตน (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2550 : 14 – 16)
ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาว่าการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่งเสริมและพัฒนาหลักการพึ่งตนเองนั้นจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านสังคมของเด็กหรือไม่ อันจะเป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมให้แก่เด็กต่อไป

ความมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ความสำคัญของการวิจัย
ผลการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นแนวทางสำหรับครูปฐมวัย ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมให้เด็กปฐมวัยมีคุณลักษณะที่ดีทางสังคมต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทั้งหมดจำนวน 5 ห้อง

2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 8 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purpossive random Sampling)

3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ กิจกรรมเสริมประสบการณ์บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ พัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กชายและหญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมถ์ของสมเด็จพระเจ้าฟ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
2. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตและปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคม ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
2.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
2.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
2.4 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2.5 เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

3. พัฒนาการด้านสังคม หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีดังนี้
3.1 ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง หมายถึง การช่วยเหลือตนเองโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น เช่น การใส่เสื้อ กระโปรง กางเกง การผูกเชือกรองเท้า การับประทานอาหาร และการเก็บของใช้ส่วนตัวได้ด้วยตนเอง เป็นต้น
3.2 การอยู่ร่วมกันในสังคม หมายถึง การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง การปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน เป็นต้น
3.3 คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง การแสดงความรักต่อเพื่อนความเมตตาต่อสัตว์ ต้นไม้ มีความอดทนการรอคอย เป็นต้น
3.4 การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม – ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และวัฒนธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนที่ดี รู้จักไหว้ทำความเคารพผู้ใหญ่ และกล่าวคำขอบคุณ การปฏิบัติตนตามประเพณีทางศาสนา การทิ้งขยะให้ถูกที่ สนใจและสนุกในการทำกิจกรรม ศิลปะ และการเคลื่อนไหว เป็นต้น
ซึ่งจากการศึกษา พัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถวัดได้จากแบบสังเกตพัฒนาการด้านสังคมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หมายถึง กิจกรรมส่งเสริมให้เด็กได้มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา สมกับวัยและเต็มศักยภาพ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกและปฏิบัติด้วยตนเอง
5. การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การจัดกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายโดยการบูรณาการให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ โดยมีลักษณะการจัดดังนี้
กิจกรรมเสริมประสบการณ์บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มจากขั้นนำ โดยใช้กิจกรรมร้องเพลง การสนทนา เล่านิทาน การสร้างข้อตกลงร่วมกัน ในการทำกิจกรรม เพื่อเข้าสู้เนื้อหาในการสอน ซึ่งจัดกิจกรรมแบบบูรณาการเข้ากับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากนั้นร่วมกันสรุปโดยกระบวนการและวิธีการต่าง ๆ

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551

โครงการผลิตอุปกรณ์ประกอบฉากการเล่านิทาน


ฉากบ้านแสนสุข




ฉากบ่อปลา / บึง / แม่น้ำ / ทะเล




ฉากสวนดอกไม้ / ธรรมชาติ



ฉากกลางคืนพระจันทร์เสี้ยว




โครงการการผลิตอุปกรณ์ประกอบฉากการเล่านิทาน

หลักการและเหตุผล
ประสบการณ์ของเด็กปฐมวัยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมตามวัย ด้วยสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นหรือส่งเสริมให้เด็กเกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ที่ดีและมีความสุขต่อการทำกิจกรรม จากการอ่านหนังสือนิทาน การเล่นบทบาทสมมติร่วมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ตัวเด็กนั้นเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขกับฉากละครตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
ดังนั้นนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 5 จึงได้จัดตั้งโครงการการผลิตอุปกรณ์ประกอบฉากการเล่านิทานขึ้น เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งการอ่านหนังสือนิทาน การแสดงบทบาทสมมติประกอบตามจิตนาการ ซึ่งครูประจำชั้นก็สามารถที่จะส่งเสริมให้เด็กนั้นแสดงออกในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านความคิดสร้างสรรค์ การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การกล้าแสดงออก ด้านภาษา เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีพัฒนาการที่สูงขึ้นตามวัยอย่างเหมาะสมและมีความสุขต่อการเรียนรู้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมตามวัย
2. เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของเด็ก
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ผ่อนคลาย ไม่ตรึงเครียด
4. เพื่อเป็นมุมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยทุกช่วงอายุ

เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
เด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 200 คน เข้าร่วมโครงการผลิตอุปกรณ์ตกแต่งฉากประกอบการเล่านิทาน
ด้านคุณภาพ
เด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีความสนใจและมีความสุขต่อการเล่านิทานประกอบฉากละคร และเด็กสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่เหมาะสมตามวัยในระดับที่สูงขึ้น

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
ขั้นวางแผน
1. วางแผนและกำหนดหัวข้อการจัดทำโครงการ
2. เสนอหัวข้อการทำโครงการต่อผู้บริหาร
3. เสนอโครงการต่อผู้บริหารและครูประจำชั้นโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
4. ประสานงานกับโรงเรียนและติดต่อสถานที่ในการดำเนินงาน
ขั้นเตรียมการ
1. ติดต่อผู้บริหารเพื่อนำสื่อไปจัดวางการจัดประสบการณ์
2. สำรวจพื้นที่ในการจัดวางฉากละคร
3. นำเสนอโครงการด้วยการให้เด็กได้ทดลองเล่น
ขั้นตรวจสอบ
1. ตรวจสอบสื่ออุปกรณ์ในการประกอบฉาก
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของสถานที่ที่ใช้ในการจัดวางฉากละคร
วันและเวลาในการดำเนินโครงการ
เดือนกันยายน พ.ศ. 2551
สถานที่ดำเนินการ
ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

งบประมาณ
1. ค่าใช้จ่ายในการซื้อผ้าทำฉาก 300 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการทำอุปกรณ์เสริม 200 บาท
3. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 100 บาท

การประเมินผล
1. สังเกตการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในมุมฉากละคร
2. จำนวนเด็กนักเรียนที่เข้ามาร่วมทำกิจกรรมในมุมฉากละคร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็กมีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
2. เด็กทำสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
3. เด็กมีความสุขสนุกสนานกับการทำกิจกรรมในมุมฉากนิทาน
4. เด็กมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมตามวัย


หน่วย ร่างกายของเรา

ภาพที่ 1 เด็ก ๆ เล่นบล็อกในกิจกรรมเสรี เด็กช่วยกันสร้างบล็อกเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ



ภาพที่ 2 เด็ก ๆ เล่นเกมการศึกษาเด็กช่วยกันสังเกตรายละเอียดของภาพตัวอย่างแล้วหาคำตอบด้วยตนเองจากการสังเกต การสำรวจรูปทรงต่าง ๆ



ภาพที่ 3 เด็ก ๆ ช่วยกันกวาดพื้นทำความสะอาดและก่อนเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย หลังจากเลิกเล่น


ภาพที่ 4 เกมการศึกษา ได้แก่ เกมต่อภาพร่างกาย เกมจับคู่ภาพ - คำส่วนประกอบของร่ากาย เกมอนุกรมส่วนประกอบของร่างกาย เกมโดมิโนภาพ - คำส่วนประกอบของร่างกาย



แผนการการจัดประสบการณ์ หน่วย ร่างกายของเรา

สัปดาห์ที่ 2 (วันที่ 9 - 13 มิถุยายน 2551)
วันที่ 9 มิถุนายน 2551

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
2. เด็กเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการได้
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
4. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นตุ๊กตาไขลานได้

เนื้อหา
การเคลื่อนไหวตุ๊กตาไขลาน

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็ก ๆ หาพื้นที่ของตนเองโดยไม่ให้ชนกับเพื่อน
2. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะพื้นฐาน
- เคาะจังหวะ 1 ครั้ง ปรบมือ
- เคาะจังหวะ 2 ครั้ง ก้าวเท้าอยู่กับที่
- เคาะจังหวะ “รัว” ปรบมือพร้อมก้าวเท้า
3. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสร้างสรรค์
- เด็ก ๆ ทุกคนเป็นตุ๊กตาไขลาน
- ครูเคาะจังหวะช้า – เร็ว สลับกัน
- เคาะจังหวะ “หยุด” ให้หยุดเคลื่อนที่ทันที

สื่อการเรียน
เครื่องเคาะจังหวะ


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
2. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการ
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
4. สังเกตความสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นตุ๊กตาไขลาน



กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบกับครูได้
2. เด็กรู้จักส่วนประกอบของร่างกายได้
3. เด็กเสนอความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนได้
4. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้



เนื้อหา
ส่วนประกอบของร่างกาย

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูและเด็กร้องเพลง “จับให้ถูก” ร่วมกันพร้อมทำท่าทางประกอบ
2. เด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในเพลง
3. ครูนำภาพส่วนประกอบของร่างกายมาสนทนากับเด็ก
- เด็ก ๆ ภาพที่ครูนำมาเป็นภาพเกี่ยวกับอะไร
- ส่วนประกอบของร่างกายเรามีอะไรบ้าง
4. เด็กและครูร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับส่วนประกอบของร่างกาย
5. เด็กและครูร่วมกันร้องเพลง “จับให้ถูก”

สื่อการเรียน
1. เพลง “จับให้ถูก”
2. ภาพส่วน ประกอบของร่างกาย

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและสนทนาโต้ตอบกับครู
2. สังเกตการรู้จักส่วนประกอบของร่างกาย
3. สังเกตการเสนอความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
4. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำผลงานตามความคิดริเริ่มและจินตนาการได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมสีน้ำ กิจกรรมสีเทียน กิจกรรมการปั้นแป้งโด กิจกรรม ฉีกปะ กิจกรรมใหม่คือ กิจกรรมพับสี

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์กิจกรรมใหม่ คือ กิจกรรมพับสี
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามความสนใจ 1 – 2 อย่าง
3. เด็กลงมือทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อและครูฟัง
5. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ทำความสะอาดก่อนเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำผลงานตามความคิดริเริ่มและจินตนาการ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสรีด้วยการสังเกต การสำรวจได้
4. เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่นร่วมกับเพื่อนได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมเสรี ได้แก่ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี มุมหนังสือ มุมศิลปะ ตามจินตนาการอย่างอิสระ

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตการใช้อุปกรณ์ใหม่ คือ กิจกรรมพับสี
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามความสนใจ
3. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามจินตนาการ
4. ครูให้สัญญาณหมดเวลา
5. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
สื่ออุปกรณ์ในมุมเสริมประสบการณ์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำกิจกรรมในมุมเสรีด้วยการสังเกต การสำรวจ
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบและเล่นร่วมกับเพื่อน
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
4. เด็กรู้จักการรอคอยตามลำดับก่อนหลังได้
5.เด็กรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้

เนื้อหา
การเล่นเครื่องเล่นสนาม

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูพาเด็กออกไปเล่นเครื่องเล่นสนาม
2. เด็กและครูร่วมกันทบทวนข้อตกลงก่อนการเล่นเครื่องเล่นสนาม
3. ครูอธิบายวิธีการเล่นเครื่องเล่นสนาม
4. เด็กเล่นเครื่องเล่นสนามอย่างอิสระ
5. ครูคอยเฝ้าระวังรักษาความปลอดภัย
6. ครูให้สัญญาณหมดเวลา
7. เด็กนั่งพักผ่อนและทำความสะอาดร่างกาย

สื่อการเรียน
เครื่องเล่นสนาม

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
4. สังเกตการรู้จักการรอคอยตามลำดับก่อนหลัง
5. สังเกตการรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น


กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กสามารถเล่นเกมจับคู่ภาพ-คำได้
3. เด็กรู้จักการจำแนก สังเกต และเปรียบเทียบได้
4. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
5. เด็กตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเองได้
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เกมจับคู่ภาพ – คำส่วนประกอบของร่างกาย

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมจับคู่ภาพ – คำส่วนประกอบของร่างกาย
2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
3. เด็ก ๆ เล่นเกมจับคู่ภาพ – คำส่วนประกอบของร่างกาย
4. เด็ก ๆ หมุนเวียนเปลี่ยนกันเล่นเกมจับคู่ภาพ – คำส่วนประกอบของร่างกาย
5. เด็ก ๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
เกมจับคู่ภาพ – คำส่วนประกอบของร่างกาย

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตกาสามารถเล่นเกมจับคู่ภาพ-คำ
3. สังเกตการู้จักการจำแนก สังเกต และเปรียบเทียบ
4. สังเกตกาเล่นร่วมกับเพื่อน
5. สังเกตกาตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่



วันที่ 10 มิถุนายน 2551

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
2. เด็กเคลื่อนไหวร่างกายตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
4. เด็กสามารถจำแนกเสียงเครื่องเคาะจังหวะได้

เนื้อหา
การเคลื่อนไหวเลียนแบบท่าทางสัตว์

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็ก ๆ หาพื้นที่ของตนเองโดยไม่ให้ชนกับเพื่อน
2. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะพื้นฐาน
- เคาะระนาด ให้กระโดด
- เคาะแทมรีน ให้ปรบมือ
3. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะโดยเลียนแบบท่าทางสัตว์ตามจินตนาการ
- เคาะระนาด เป็นม้า
- เคาะแทมรีน เป็นนก หรือ ผีเสื้อ

สื่อการเรียน
1. แทมรีน
2. ระนาด

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
2. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
4. สังเกตความสามารถจำแนกเสียงเครื่องเคาะจังหวะ


กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบกับครูได้
2. เด็กสามารถบอกหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
3. เด็กสามารถใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างถูกต้อง

เนื้อหา
หน้าที่ของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูและเด็กร้องเพลง “จับให้ถูก” ร่วมกันพร้อมทำท่าทางประกอบ
2. เด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในเพลง
3. ครูนำภาพส่วนประกอบของร่างกายมาสนทนากับเด็กเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
- อวัยวะส่วนใดมีไว้ดู
- เด็ก ๆ มีหูไว้ทำอะไร
- ครูมีดอกไม้อยู่ 1 ชนิด เด็กต้องรู้ว่าหอมหรือฉุนได้อย่างไร
4. เด็กและครูทบทวนเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะ ต่าง ๆ ของร่างกาย

สื่อการเรียน
1. เพลง “จับให้ถูก”
2. ภาพส่วน ประกอบของร่างกาย

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและสนทนาโต้ตอบกับครู
2. สังเกตการบอกหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
3. สังเกตการใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างถูกต้อง


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำผลงานตามความคิดริเริ่มและจินตนาการได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมสีน้ำ กิจกรรมสีเทียน กิจกรรมการปั้นแป้งโด กิจกรรม ฉีกปะ กิจกรรมพับสี

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามความสนใจ 1 – 2 อย่าง
2. เด็กลงมือทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
3. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อและครูฟัง
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ทำความสะอาดก่อนเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำผลงานตามความคิดริเริ่มและจินตนาการ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสรีด้วยการสังเกต การสำรวจได้
4. เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่นร่วมกับเพื่อนได้
5. เด็กสามารถแก้ปัญหาการเล่นได้
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำ กิจกรรมเสรี ได้แก่ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี มุมหนังสือ มุมศิลปะ อย่างอิสระ

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามความสนใจ
2. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามจินตนาการอย่างอิสระ
3. ครูให้สัญญาณหมดเวลา
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
สื่ออุปกรณ์ในมุมเสริมประสบการณ์


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำกิจกรรมในมุมเสรีด้วยการสังเกต การสำรวจ
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบและเล่นร่วมกับเพื่อน
5. สังเกตความสามารถแก้ปัญหาการเล่น6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
4. เด็กรู้จักการรอคอยตามลำดับก่อนหลังได้
5. เด็กรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้

เนื้อหา
การละเล่นมอญซ่อนผ้า


การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกายก่อนการเล่นมอญซ่อนผ้า
2. เด็กและครูร่วมกันทบทวนข้อตกลงก่อนการเล่นมอญซ่อนผ้า
3. ครูอธิบายวิธีการเล่นมอญซ่อนผ้า
- แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน
- ให้เด็กนั่งเป็นวงกลม
- เด็ก ๆ ร้องเพลงมอญซ่อนผ้าพร้อม ๆ กัน
- คนที่เป็นมอญเดินเป็นวงกลมรอบเพื่อนแล้วนำผ้าวางไว้หลังเพื่อน
4. เด็ก ๆ เล่นมอญซ่อนผ้า
5. เด็กนั่งพักผ่อนและทำความสะอาดร่างกาย

สื่อการเรียน
เศษผ้า

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
4. สังเกตการรู้จักการรอคอยตามลำดับก่อนหลัง
5. สังเกตการณ์รู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น



กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กสามารถเล่นเกมจับคู่ภาพ-คำได้
3. เด็กรู้จักการจำแนก สังเกต และเปรียบเทียบได้
4. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
5. เด็กตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเองได้
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้


เนื้อหา
เด็กเล่นเกมต่อภาพร่างกาย

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมต่อภาพร่างกาย
2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
3. เด็ก ๆ เล่นเกมต่อภาพร่างกาย
4. เด็ก ๆ หมุนเวียนเปลี่ยนกันเล่นเกมต่อภาพร่างกาย
5. เด็ก ๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
เกมต่อภาพร่างกาย

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการสามารถเล่นเกมจับคู่ภาพ-คำ
3. สังเกตการรู้จักการจำแนก สังเกต และเปรียบเทียบ
4. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
5. สังเกตการตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง
6. สังเกตการกันเก็บของเข้าที่



วันที่ 11 มิถุนายน 2551

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
2. เด็กเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการได้
3. เด็กมีความสุขและสนใจกับการเคลื่อนไหวได้
4. เด็กสามารถเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยายได้

เนื้อหา
การเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยาย

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็ก ๆ หาพื้นที่ของตนเองโดยไม่ให้ชนกับเพื่อน
2. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะพื้นฐาน
- เคาะจังหวะช้า ให้เดินช้า
- เคาะจังหวะเร็ว ให้เดินเร็ว
- เคาะจังหวะ 1 ครั้ง ให้หยุดเคลื่อนไหวทันที
3. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบคำบรรยาย
- ครูเคาะจังหวะช้า – เร็ว สลับกัน พร้อมบรรยาย เรื่อง หนูดีรักษา

สื่อการเรียน
กลอง

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
2. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการ
3. สังเกตการมีความสุขและสนใจกับการเคลื่อนไหว
4. สังเกตความสามารถเคลื่อนไหวร่างกายประกอบคำบรรยาย


กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบกับครูได้
2. เด็กบอกถึงการดูแลรักษาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
3. เด็กสามารถดูแลรักษาความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้

เนื้อหา
การดูแลรักษาส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูและเด็กร้องเพลง “จับให้ถูก” ร่วมกันพร้อมทำท่าทางประกอบ
2. เด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในเพลง
3. ครูนำภาพส่วนประกอบของร่างกายมาสนทนากับเด็ก
- เด็ก ๆ ภาพที่ครูนำมาเป็นภาพเกี่ยวกับอะไร
- ส่วนประกอบของร่างกายเรามีอะไรบ้าง
4. เด็กและครูร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับส่วนประกอบของร่างกาย
5. เด็กและครูร่วมกันร้องเพลง “จับให้ถูก”


สื่อการเรียน
1. เพลง “จับให้ถูก”
2. ภาพส่วนประกอบของร่างกาย

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและสนทนาโต้ตอบกับครู
2. สังเกตการบอกถึงการดูแลรักษาส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
3. สังเกตการสามารถดูแลรักษาความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำผลงานตามความคิดริเริ่มและจินตนาการได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมสีน้ำ กิจกรรมสีเทียน กิจกรรมการปั้นแป้งโด กิจกรรม ฉีกปะ กิจกรรมพับสี

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามความสนใจ 1 – 2 อย่าง
2. เด็กลงมือทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
3. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อและครูฟัง
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ทำความสะอาดก่อนเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย


สื่อการเรียน
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำผลงานตามความคิดริเริ่มและจินตนาการ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสรีด้วยการสังเกต การสำรวจได้
4. เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่นร่วมกับเพื่อนได้
5. เด็กสามารถแก้ปัญหาการเล่นได้
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำ กิจกรรมเสรี ได้แก่ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี มุมหนังสือ มุมศิลปะ อย่างอิสระ

กิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามความสนใจ
2. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามจินตนาการอย่างอิสระ
3. ครูให้สัญญาณหมดเวลา
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
สื่ออุปกรณ์ในมุมเสริมประสบการณ์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำกิจกรรมในมุมเสรีด้วยการสังเกต การสำรวจ
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบและเล่นร่วมกับเพื่อน
5. สังเกตความสามารถแก้ปัญหาการเล่น
6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
4. เด็กรู้จักการมีน้ำใจการขอโทษและการให้อภัยได้
5. เด็กรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้

เนื้อหา
การเล่นเกมเสือไล่วัว

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกายก่อนการเล่นเกมเสือไล่วัว
2. เด็กและครูร่วมกันทบทวนข้อตกลงก่อนการเล่นเกมเสือไล่วัว
3. ครูอธิบายวิธีการเล่นเกมเสือไล่วัว
- เด็ก 2 คนเป็นเสือและวัว
- เด็กที่จับมือกันเป็นวงกลม
- คนที่เป็นเสือวิ่งไล่วัว โดยที่เสือไม่สามารถเข้ามาในคอกได้
4. เด็ก ๆ เล่นเกมเสือไล่วัว
5. เด็กนั่งพักผ่อนและทำความสะอาดร่างกาย

สื่อการเรียน
-

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
4. สังเกตการรู้จักการมีน้ำใจการขอโทษและการให้อภัย
5. สังเกตการรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น


กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ จำแนก และเปรียบเทียบได้
4. เด็กเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
5. เด็กตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเองได้
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กเล่นเกมจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์กัน

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์กัน
2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
3. เด็ก ๆ เล่นเกมจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์กัน
4. เด็ก ๆ หมุนเวียนเปลี่ยนกันเล่นเกมจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์กัน
5. เด็ก ๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
เกมต่อจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์กัน และเกมที่เคยเล่นมาแล้ว

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการสามารถเล่นเกมจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์กัน
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ จำแนก และเปรียบเทียบ
4. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
5. สังเกตการตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง
6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่



วันที่ 12 มิถุนายน 2551

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
2. เด็กเคลื่อนไหวร่างกายตามความคิดและจินตนาการได้
3. เด็กฟังและแยกแยะเสียงของเครื่องเคาะดนตรีได้
4. เด็กมีความสุขและสนุกสนานในการทำกิจกรรมได้


เนื้อหา
การเคลื่อนไหวและจังหวะโดยการกลิ้งตัวบนผ้า

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็ก ๆ หาพื้นที่ของตนเองโดยไม่ให้ชนกับเพื่อน
2. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะพื้นฐาน
- ตีกลอง ให้เคลื่อนไหวส่วนบนของร่างกาย
- ตีฉิ่ง ให้เคลื่อนไหวส่วนล่างของร่างกาย
3. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะกลิ้งตัวบนผ้า
- ครูตีกลอง ให้เด็ก ๆ อยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหว
- ครูตีฉิ่ง เด็ก ๆ กลิ้งตัวตามจินตนาการ

สื่อการเรียน
1. กลอง
2. ฉิ่ง
3. ผ้าผืนใหญ่



ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
2. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการ
3. สังเกตการฟังและแยกแยะเสียงของเครื่องเคาะดนตรี
4. สังเกตการมีความสุขและสนใจกับการเคลื่อนไหว



กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบกับครูได้
2. เด็กบอกถึงการดูแลรักษาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
3. เด็กสามารถดูแลรักษาความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้

เนื้อหา
การดูแลรักษาส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูและเด็กร้องเพลง “จับให้ถูก” ร่วมกันพร้อมทำท่าทางประกอบ
2. เด็กและครูสนทนาทบทวนการดูแลรักษา ศีรษะ ใบหน้า ปาก ฟัน
3. ครูสนทนาพร้อมกับซักถามเกี่ยวกับการดูแลรักษาเล็บมือ เล็บเท้า มือ เท้า และร่างกาย
- เด็ก ๆ มีวิธีดูแลรักษาเล็บมือ เล็บเท้า อย่างไร
4. เด็กและครูร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับการการดูแลรักษาส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

สื่อการเรียน
1. เพลง “จับให้ถูก”
2. ภาพการดูแลรักษาส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและสนทนาโต้ตอบกับครู
2. สังเกตการบอกถึงการดูแลรักษาส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
3. สังเกตการสามารถดูแลรักษาความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำผลงานตามความคิดริเริ่มและจินตนาการได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมสีน้ำ กิจกรรมสีเทียน กิจกรรมการปั้นแป้งโด กิจกรรม ฉีกปะ กิจกรรมพับสี

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามความสนใจ 1 – 2 อย่าง
2. เด็กลงมือทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
3. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อและครูฟัง
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ทำความสะอาดก่อนเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำผลงานตามความคิดริเริ่มและจินตนาการ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสรีด้วยการสังเกต การสำรวจได้
4. เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่นร่วมกับเพื่อนได้
5. เด็กสามารถแก้ปัญหาการเล่นได้
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำ กิจกรรมเสรี ได้แก่ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี มุมหนังสือ มุมศิลปะ อย่างอิสระ

กิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามความสนใจ
2. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามจินตนาการอย่างอิสระ
3. ครูให้สัญญาณหมดเวลา
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย


สื่อการเรียน
สื่ออุปกรณ์ในมุมเสริมประสบการณ์


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำกิจกรรมในมุมเสรีด้วยการสังเกต การสำรวจ
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบและเล่นร่วมกับเพื่อน
5. สังเกตความสามารถแก้ปัญหาการเล่น6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
4. เด็กมีความสามัคคีกันในหมู่คณะได้
5. เด็กรู้จักแพ้ ชนะมีน้ำใจนักกีฬาได้
6. เด็กรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้



เนื้อหา
การละเล่นการวิ่งเปี้ยว



การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกายก่อนการเล่นวิ่งเปี้ยว
2. เด็กและครูร่วมกันทบทวนข้อตกลงก่อนการเล่นเกมวิ่งเปี้ยว
3. ครูอธิบายและสาธิตวิธีการเล่นเกมวิ่งเปี้ยว
- แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน
- แต่ละกลุ่มยืนคนละฝั่งเป็นแถวตอนลึก
- เด็กคนแรกของทั้ง 2 ฝ่าย วิ่งไล่อ้อมเสา เพื่อนำผ้าตีให้ทัน เมื่อกลับมาถึงเพื่อนให้ส่งผ้าต่อเพื่อน แล้วเล่นเช่นเดียวกัน จนกว่าจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตีผ้าถูกก่อน
4. เด็ก ๆ เล่นเกมวิ่งเปี้ยว
5. เด็กนั่งพักผ่อนและทำความสะอาดร่างกาย


สื่อการเรียน
ผ้าเช็ดหน้าผืนใหญ่



ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
4. สังเกตการมีความสามัคคีกันในหมู่คณะ
5. สังเกตการรู้จักแพ้ ชนะมีน้ำใจนักกีฬา
6. สังเกตการรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น



กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ จำแนก และเปรียบเทียบได้
4. เด็กตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเองได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กเล่นเกมล็อตโตร่างกาย

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมล็อตโตร่างกาย
2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
3. เด็ก ๆ เล่นเกมล็อตโตร่างกาย
4. เด็ก ๆ หมุนเวียนเปลี่ยนกันเล่นเกมล็อตโตร่างกาย
5. เด็ก ๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
เกมล็อตโตร่างกาย และเกมที่เคยเล่นมาแล้ว

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ จำแนก และเปรียบเทียบ
4. สังเกตการตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่



วันที่ 13 มิถุนายน 2551

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
2. เด็กเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเชือกตามจินตนาการได้
3. เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว

เนื้อหา
การเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเชือก

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็ก ๆ หาพื้นที่ของตนเองโดยไม่ให้ชนกับเพื่อน
2. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะพื้นฐาน
- เคาะจังหวะ 1 ครั้ง ให้เขย่งปลายเท้าขึ้น - ลง
- เคาะจังหวะ 2 ครั้ง ให้หยุดเคลื่อนไหว
3. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเชือก
- ครูเปิดเพลงโมสาร์ต
- เด็ก ๆ เคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

สื่อการเรียน
1. เทปเพลง
2. เชือก
3. เครื่องเคาะจังหวะ

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
2. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเชือกตามจินตนาการ
3. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบกับครูได้
2. เด็กสามารถบอกการเจริญเติบโตของมนุษย์ได้
3. เด็กรู้จักการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตนเองได้

เนื้อหา
การเจริญเติบโต

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูสนทนากับเด็ก ๆ เกี่ยวกับการเกิดและการเจริญเติบโต
- ก่อนที่เด็ก ๆ จะเกิดเด็ก ๆ อยู่ที่ไหน
- เด็กมีลักษณะอย่างไร
- คนเรามีการเจริญเติบโตอย่างไร
2. เด็กและครูสนทนาทบทวนเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ร่วมกับเด็ก ๆ

สื่อการเรียน
-

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและสนทนาโต้ตอบกับครู
2. สังเกตการสามารถบอกการเจริญเติบโตของมนุษย์
3. สังเกตการรู้จักการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตนเอง


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำผลงานตามความคิดริเริ่มและจินตนาการได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมสีน้ำ กิจกรรมสีเทียน กิจกรรมการปั้นแป้งโด กิจกรรม ฉีกปะ กิจกรรมพับสี

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามความสนใจ 1 – 2 อย่าง
2. เด็กลงมือทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
3. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อและครูฟัง
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ทำความสะอาดก่อนเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำผลงานตามความคิดริเริ่มและจินตนาการ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสรีด้วยการสังเกต การสำรวจได้
4. เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่นร่วมกับเพื่อนได้
5. เด็กสามารถแก้ปัญหาการเล่นได้
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำ กิจกรรมเสรี ได้แก่ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี มุมหนังสือ มุมศิลปะ อย่างอิสระ

กิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามความสนใจ
2. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามจินตนาการอย่างอิสระ
3. ครูให้สัญญาณหมดเวลา
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
สื่ออุปกรณ์ในมุมเสริมประสบการณ์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำกิจกรรมในมุมเสรีด้วยการสังเกต การสำรวจ
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบและเล่นร่วมกับเพื่อน
5. สังเกตความสามารถแก้ปัญหาการ
เล่น6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
4. เด็กสามารถวิ่งซิกแซกได้
5. เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว
6. เด็กรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้


เนื้อหา
การวิ่งซิกแซก



การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกายก่อนการเล่นวิ่งซิกแซก
2. เด็กและครูร่วมกันทบทวนข้อตกลงก่อนการเล่นวิ่งซิกแซก
3. ครูอธิบายและสาธิตวิธีการเล่นวิ่งซิกแซก
- ให้เด็ก ๆ วิ่งวิ่งซิกแซก ตามกรวยที่วางไว้ทีละคน
- แตะมือเพื่อนคนต่อไป จนครบทุกคน
4. เด็ก ๆ เล่นวิ่งซิกแซก
5. เด็กนั่งพักผ่อนและทำความสะอาดร่างกาย

สื่อการเรียน
กรวยกระดาษแข็ง

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
4. สังเกตความสามารถวิ่งซิกแซก
5. สังเกตเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว
6. สังเกตการรู้จักรักษาความสะอาดและ
ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ จำแนก และเปรียบเทียบได้
4. เด็กตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเองได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กเล่นเกมเรียงลำดับภาพการเจริญเติบโต

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมเรียงลำดับภาพการเจริญเติบโต
2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
3. เด็ก ๆ เล่นเกมเรียงลำดับภาพการเจริญเติบโต
4. เด็ก ๆ หมุนเวียนเปลี่ยนกันเล่นเกมเรียงลำดับภาพการเจริญเติบโต
5. เด็ก ๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
เกมเรียงลำดับภาพการเจริญเติบโต และเกมที่เคยเล่นมาแล้ว

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ จำแนก และเปรียบเทียบ
4. สังเกตการตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่

หน่วย ฝน

ภาพที่ 1 เด็ก ๆ เล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังเป็นกลุ่ม ตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ


ภาพที่ 2 เด็ก ๆ ทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การปั้นแป้งโด


ภาพที่ 3 เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของและทำความสะอาดก่อนเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย


แผนการการจัดประสบการณ์ หน่วย ฝน

สัปดาห์ที่ 8 (21-25 กรกฎาคา 2551)
วันที่ 21 กรกฎาคม 2551


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
2. เด็กเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการได้
3. เด็กเคลื่อนไหวประกอบลูกโป่งโดยการจับกลุ่มตามคำสั่งได้


เนื้อหา
การเคลื่อนไหวประกอบลูกโป่ง


การดำเนินกิจกรรม
1. เด็ก ๆ หาพื้นที่ของตนเองโดยไม่ให้ชนกับเพื่อน
2. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะพื้นฐาน
- เคาะจังหวะ 1 ครั้ง ก้าวไปข้างหน้า
- เคาะจังหวะ “รัว” กระโดดอยู่กับที่
- เคาะจังหวะ 2 ครั้ง ให้หยุดเคลื่อนไหว
3. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบลูกโป่ง
- ครูเปิดเพลงให้เด็กเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
- ครูปิดเพลงให้เด็ก ๆ จับกลุ่มตามสีที่ครูสั่ง เช่น สีม่วง สีแดง


สื่อการเรียน
1. เครื่องเคาะจังหวะ
2. เทปเพลง
3. ลูกโป่ง


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
2. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการ
3. สังเกตการเคลื่อนไหวประกอบลูกโป่งโดยการจับกลุ่มตามคำสั่ง



กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบกับครูได้
2. เด็กเสนอความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
3. เด็กสามารถบอกวัฏรจักการเกิดฝนได้
4. เด็กรู้จักการสังเกต การเปลี่ยนด้วยตนเองได้


เนื้อหา
วัฏรจักการเกิดฝน

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูสนทนาซักถามกับเด็ก ๆ เกี่ยวกับฤดูฝน
- เด็ก ๆ สังเกตไหมว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง
2. เด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับการเกิดฝน
3. ครูวาดวงจรการเกิดฝนพร้อมสนทนาซักถาม
- ฝนตกมาจากอะไร
- ทำไมน้ำจึงระเหยกลายเป็นไอ
- จากไอน้ำจะเกิดเป็นอะไร
4. เด็กและครูร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับวัฏรจักการเกิดฝน
5. ครูให้เด็กทดลองการเกิดฝน
6. เด็ก ๆ สังเกตการระเหยของน้ำ


สื่อการเรียน
1. น้ำ / น้ำร้อน
2. ถังน้ำ
3. ถุงพลาสติก
4. ไวท์บอร์ด


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและสนทนาโต้ตอบกับครู
2. สังเกตการเสนอความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3. สังเกตการสามารถบอกวัฏรจักการเกิดฝน
4. สังเกตการรู้จักการสังเกต การเปลี่ยนด้วยตนเอง



กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำผลงานตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้


เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมสีน้ำ กิจกรรมสีเทียน กิจกรรมการปั้นแป้งโด กิจกรรม ฉีกปะ กิจกรรมใหม่คือ กิจกรรมวาดภาพบนกระดาษทราย

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์กิจกรรมใหม่ คือ กิจกรรมวาดภาพบนกระดาษทราย
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามความสนใจ 1 – 2 อย่าง
3. เด็กลงมือทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อและครูฟัง
5. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ทำความสะอาดก่อนเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย


สื่อการเรียน
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำผลงานตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเองตามจินตนาการได้
4. เด็กรอคอยตามลำดับก่อน - หลังได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมเสรี ได้แก่ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี มุมหนังสือ มุมศิลปะ ตามจินตนาการอย่างอิสระ

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามความสนใจ
2. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามจินตนาการ
3. ครูให้สัญญาณหมดเวลา
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
สื่ออุปกรณ์ในมุมเสริมประสบการณ์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำกิจกรรมด้วยตนเองตามจินตนาการ
4. สังเกตการรอคอยตามลำดับก่อน - หลัง
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กทำงานประสานสัมพันธ์กันได้
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
4. เด็กรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้

เนื้อหา
การเล่นเครื่องเล่นสนาม

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูพาเด็กออกไปเล่นเครื่องเล่นสนาม
2. เด็กและครูร่วมกันทบทวนข้อตกลงก่อนการเล่นเครื่องเล่นสนาม
3. ครูอธิบายวิธีการเล่นเครื่องเล่นสนาม
4. เด็กเล่นเครื่องเล่นสนามอย่างอิสระ
5. ครูคอยเฝ้าระวังรักษาความปลอดภัย
6. ครูให้สัญญาณหมดเวลา
7. เด็กนั่งพักผ่อนและทำความสะอาดร่างกาย


สื่อการเรียน
เครื่องเล่นสนาม

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กทำงานประสานสัมพันธ์กัน
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
4. สังเกตการรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น


กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
3. เด็กรู้จักวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
4.เด็กตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาด้วยตนเองได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เกมวัฏรการเกิดฝน

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมวัฏรการเกิดฝน
2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 กลุ่ม
3. เด็ก ๆ เล่นเกมวัฏรการเกิดฝน
4. เด็ก ๆ หมุนเวียนเปลี่ยนกันเล่นเกมวัฏรการเกิดฝน
5. เด็ก ๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
เกมวัฏรการเกิดฝน และเกมที่เคยเล่นมาแล้ว

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
3. สังเกตการรู้จักวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4. สังเกตการตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาด้วยตนเอง
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่


วันที่ 22 กรกฎาคม 2551

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
2. เด็กเคลื่อนไหวตามจินตนาการได้
3. เด็กเคลื่อนไหวประกอบผ้าตามจินตนาการได้
4. เด็กสามารถหยุดท่าทางค้างไว้ได้

เนื้อหา
การเคลื่อนไหวประกอบผ้า

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็ก ๆ หาพื้นที่ของตนเองโดยไม่ให้ชนกับเพื่อน
2. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะพื้นฐาน
- เคาะจังหวะ 1 ครั้ง ปรบมือ
- เคาะจังหวะ “รัว” ให้สลัดมือ
3. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบผ้า
- ครูเปิดเพลงให้เด็กช่วยกันจับผ้าพร้อมเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
- ครูปิดเพลงให้เด็ก ๆ หยุท่าค้างไว้

สื่อการเรียน
1. เครื่องเคาะจังหวะ

2. เทปเพลง
3. ผ้าผืนใหญ่


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
2. สังเกตการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
3. สังเกตการณ์เคลื่อนไหวประกอบผ้าตามจินตนาการ
4. สังเกตความสามารถหยุดท่าทางค้างไว้



กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กสนทนาโต้ตอบและตอบคำถามของครูได้
3. เด็กสามารถบอกวิธีป้องกันตนเองจากฝนได้
4. เด็กเสนอความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้

เนื้อหา
การป้องกันตนเองจากฝน

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูนำเพลง “ฝนจ๋า” มาร้องร่วมกับเด็ก ๆ
2. เด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในเพลง
3. เด็กและครูสนทนาซักถามเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตนเองจากฝน
- เด็ก ๆ มีวิธีป้องกันฝนอย่างไร
- อุปกรณ์ป้องกันฝนมีอะไรบ้าง
4. เด็กและครูร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับวิธีการป้องกันตนเองจากฝน


สื่อการเรียน
1. เพลง “ฝนจ๋า”
2. ร่ม
3. เสื้อกันฝน
4. หมวก


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและสนทนาโต้ตอบกับครู
2. สังเกตการสนทนาโต้ตอบและตอบคำถามของครู
3. สังเกตการสามารถบอกวิธีป้องกันตนเองจากฝน
4. สังเกตการเสนอความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำผลงานตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้


เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมสีน้ำ กิจกรรมสีเทียน กิจกรรมการปั้นแป้งโด กิจกรรม ฉีกปะ กิจกรรมใหม่คือ กิจกรรมปะติดเปลือกดินสอ


การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์กิจกรรมใหม่ คือ กิจกรรมปะติดเปลือกดินสอ
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามความสนใจ 1 – 2 อย่าง
3. เด็กลงมือทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อและครูฟัง
5. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ทำความสะอาดก่อนเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำผลงานตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเองตามจินตนาการได้
4. เด็กรอคอยตามลำดับก่อน - หลังได้
5. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้


เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมเสรี ได้แก่ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี มุมหนังสือ มุมศิลปะ ตามจินตนาการอย่างอิสระ


การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามความสนใจ
2. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามจินตนาการ
3. ครูให้สัญญาณหมดเวลา
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย


สื่อการเรียน
สื่ออุปกรณ์ในมุมเสริมประสบการณ์


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำกิจกรรมด้วยตนเองตามจินตนาการ
4. สังเกตการรอคอยตามลำดับก่อน - หลัง
5. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กทำงานประสานสัมพันธ์กันได้
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
4. เด็กรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้

เนื้อหา
การเล่นฝนตก

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกายก่อนการเล่นเกมฝนตก
2. เด็กและครูร่วมกันทบทวนข้อตกลงก่อนการเล่นเกมฝนตก
3. ครูอธิบายและสาธิตวิธีการเล่นเกมฝนตก
- แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 ให้เป็นฝน
- กลุ่มที่ 2 เป็นคน
- ให้กลุ่มฝนวิ่งไล่จับคนหนีฝนเมื่อฝนจับได้ให้นั่งลง
- เมื่อต้องการหลบฝน ให้เด็กคนที่วิ่งหนีหยุดแล้วเอามือทำเป็นหลังคาบ้าน
4. เด็กนั่งพักผ่อน และทำความสะอาดร่างกาย


สื่อการเรียน
-

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กทำงานประสานสัมพันธ์กัน
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
4. สังเกตการรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น


กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต การสำรวจได้
4.เด็กตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาด้วยตนเองได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เกมจับคู่ภาพ - คำอุปกรณ์ป้องกันฝน


การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมจับคู่ภาพ - คำอุปกรณ์ป้องกันฝน
2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 กลุ่ม
3. เด็ก ๆ เล่นเกมจับคู่ภาพ - คำอุปกรณ์ป้องกันฝน
4. เด็ก ๆ หมุนเวียนเปลี่ยนกันเล่นเกมจับคู่ภาพ - คำอุปกรณ์ป้องกันฝน
5. เด็ก ๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย


สื่อการเรียน
เกมจับคู่ภาพ - คำอุปกรณ์ป้องกันฝน และเกมที่เคยเล่นมาแล้ว


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต การสำรวจได้
4. สังเกตการตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาด้วยตนเอง
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่


วันที่ 23 กรกฎาคม 2551

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
2. เด็กเคลื่อนไหวพร้อมลูกบอลได้
3. เด็กสามารถฟังและนับจำนวนจังหวะของดนตรีได้

เนื้อหา
การเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบดนตรี

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็ก ๆ หาพื้นที่ของตนเองโดยไม่ให้ชนกับเพื่อน
2. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะพื้นฐาน
- เคาะจังหวะ 1 ครั้ง กระโดดสลับขาไปข้างหน้า
- เคาะจังหวะ “รัว” ให้วิ่งอยู่กับที่
3. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบดนตรี
- ครูเปิดเพลงให้เด็กส่งลูกบอลไปทางขวามือ
- เมื่อจังหวะหยุดลูกบอลอยู่ที่ใครให้ปรบมือตามจังหวะ
- เมื่อหมดจังหวะก็ให้ส่งบอลต่อ

สื่อการเรียน
1. เครื่องเคาะจังหวะ
2. เทปเพลง
3. ลูกบอล


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
2. สังเกตการเคลื่อนไหวพร้อมลูกบอล
3. สังเกตความสามารถฟังและนับจำนวนจังหวะของดนตรี



กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กสนทนาโต้ตอบและตอบคำถามของครูได้
3. เด็กเสนอความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
4. เด็กสามารถบอกปรากฏการณ์ตามธรรมชาติได้

เนื้อหา
ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฟ้าแล๊บ

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูเล่านิทานเรื่อง “ฉันชอบปลูกต้นไม้”
2. เด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน
3. เด็กและครูสนทนาซักถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
- เด็ก ๆ ลองคิดซิคะว่าปรากฏการณ์ตามธรรมชาติเมื่อฝนตกมีอะไรบ้าง
- มีลักษณะอย่างไร
4. เด็กและครูร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติต่าง ๆ

สื่อการเรียน
หนังสือนิทาน

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและสนทนาโต้ตอบกับครู
2. สังเกตการสนทนาโต้ตอบและตอบคำถามของครู
3. สังเกตการเสนอความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. สังเกตการสามารถบอกปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำผลงานตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้


เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมสีน้ำ กิจกรรมสีเทียน กิจกรรมการปั้นแป้งโด กิจกรรม ฉีกปะ กิจกรรมปะติดเปลือกดินสอ

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามความสนใจ 1 – 2 อย่าง
2. เด็กลงมือทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
3. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อและครูฟัง
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ทำความสะอาดก่อนเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำผลงานตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเองตามจินตนาการได้
4. เด็กรอคอยตามลำดับก่อน - หลังได้
5. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้


เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมเสรี ได้แก่ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี มุมหนังสือ มุมศิลปะ ตามจินตนาการอย่างอิสระ


การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามความสนใจ
2. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามจินตนาการ
3. ครูให้สัญญาณหมดเวลา
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย


สื่อการเรียน
สื่ออุปกรณ์ในมุมเสริมประสบการณ์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำกิจกรรมด้วยตนเองตามจินตนาการ
4. สังเกตการรอคอยตามลำดับก่อน - หลัง
5. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้า
ที่


กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้ดี ทำงานประสานสัมพันธ์กันได้
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
4. เด็กรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้

เนื้อหา
เกมน้ำขึ้น - น้ำลง

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกายก่อนการเล่นเกมน้ำขึ้น - น้ำลง
2. เด็กและครูร่วมกันทบทวนข้อตกลงก่อนการเล่นเกมน้ำขึ้น - น้ำลง
3. ครูอธิบายและสาธิตวิธีการเล่นเกมน้ำขึ้น - น้ำลง
- ให้เด็ก 2 คนเป็นปลาฉลาม
- เด็ก ๆ ที่เหลือเป็นปลาเล็กปลาน้อย
- น้ำขึ้น ให้ปลาน้อยวิ่งเข้าหาปลาฉลาม น้ำลง ให้วิ่งหนีปลาฉลาม
- ปลาฉลามวิ่งไล่จับปลาน้อย ใครโดนจับให้ไปเข้าแถวรอน้ำขึ้นจึงวิ่งได้
4. เด็กนั่งพักผ่อน และทำความสะอาดร่างกาย

สื่อการเรียน
-


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้ดี ทำงานประสานสัมพันธ์กัน
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
4. สังเกตการรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น


กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต การสำรวจได้
4. เด็กเรียนรู้การแก้ปัญหาในการเล่นได้
5. เด็กรอคอยตามลำดับก่อน-หลังได้
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้


เนื้อหา
เกมเรียงลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติ


การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมเรียงลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 กลุ่ม
3. เด็ก ๆ เล่นเกมเรียงลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
4. เด็ก ๆ หมุนเวียนเปลี่ยนกันเล่นเกมเรียงลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
5. เด็ก ๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย


สื่อการเรียน
เกมเรียงลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติและเกมที่เคยเล่นมาแล้ว

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต การสำรวจ
4.สังเกตการเรียนรู้การแก้ปัญหาในการเล่น
5. สังเกตการรอคอยตามลำดับก่อน-หลัง
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่



วันที่ 24 กรกฎาคม 2551

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
2. เด็กเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการได้
3. เด็กเคลื่อนไหวเลียนแบบท่าสัตว์ตามจินตนาการได้
4. เด็กสนใจและมีความสุขกับเสียงเพลง เสียงดนตรีได้


เนื้อหา
การเคลื่อนไหวประกอบดนตรีโดยเลียนแบบท่าสัตว์ต่าง ๆ ตามจินตนาการ


การดำเนินกิจกรรม
1. เด็ก ๆ หาพื้นที่ของตนเองโดยไม่ให้ชนกับเพื่อน
2. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะพื้นฐาน
- เคาะจังหวะ 1 ครั้ง กระโดดท่ากบ
- เคาะจังหวะ 2 ครั้ง ให้หยุดเคลื่อนไหวทันที
- เคาะจังหวะ “รัว” ให้ลุกขึ้นวิ่งอยู่กับที่
3. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบดนตรีโดยเลียนแบบท่าสัตว์ต่าง ๆ ตามจินตนาการ
- ครูเปิดเพลงให้เด็ก ๆ เคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการ
- ครูชูภาพสัตว์ ให้เด็ก ๆ เคลื่อนไหวเลียนแบบท่าสัตว์ชนิดนั้นตามจินตนาการ เช่น กิ้งกือ กบ ปลา


สื่อการเรียน
1. เครื่องเคาะจังหวะ
2. เทปเพลง
3. ภาพสัตว์ต่าง ๆ

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
2. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการ
3. สังเกตการเคลื่อนไหวเลียนแบบท่าสัตว์ตามจินตนาการ
4. สังเกตความสนใจและมีความสุขกับเสียงเพลง เสียงดนตรี



กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบกับครูได้
2. เด็กเสนอความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
3. เด็กสามารถบอกชื่อสัตว์ที่พบในฤดูฝนได้
4. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต การสำรวจ และเปรียบเทียบได้

เนื้อหา
สัตว์ที่พบในฤดูฝน


การดำเนินกิจกรรม
1. ครูเล่านิทานเรื่อง “ฝนจ๋า”
2. เด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน
3. เด็กและครูสนทนาซักถามเกี่ยวกับสัตว์ที่พบในฤดูฝน
- เด็ก ๆ เมื่อถึงฤดูฝนเด็กจะพบสัตว์อะไรบ้างที่มีหรือพบมากในฤดูฝน
- มีลักษณะอย่างไร
- พบที่ไหนบ้าง
4. ครูนำสัตว์ที่พบในฤดูฝนมาให้เด็ด ๆ ดู ได้แก่ กิ้งกือ กบ กุ้ง ฯลฯ
5. เด็ก ๆสังเกตสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่ครูนำมาพร้อมสนทนาซักถาม
- สัตว์ที่เด็ก ๆ เห็นเหมือนหรือแตกต่างกับสัตว์ที่เด็ก ๆ รู้จัก
- เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
6. เด็กและครูร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับสัตว์ที่พบในฤดูฝน


สื่อการเรียน
1. หนังสือนิทาน
2. สัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่พบในฤดูฝน


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและสนทนาโต้ตอบกับครู
2. สังเกตการเสนอความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3. สังเกตความสามารถบอกชื่อสัตว์ที่พบในฤดูฝน
4. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต การสำรวจ และเปรียบเทียบ


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำผลงานตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้


เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมสีน้ำ กิจกรรมสีเทียน กิจกรรมการปั้นแป้งโด กิจกรรม ฉีกปะ กิจกรรมใหม่ คือ กิจกรรมพิมพ์ภาพด้วยกระดาษขยำ


การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ในกิจกรรมใหม่ คือ กิจกรรมพิมพ์ภาพด้วยกระดาษขยำ
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามความสนใจ 1 – 2 อย่าง
3. เด็กลงมือทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อและครูฟัง
5. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ทำความสะอาดก่อนเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย


สื่อการเรียน
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำผลงานตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเองตามจินตนาการได้
4. เด็กรอคอยตามลำดับก่อน - หลังได้
5. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมเสรี ได้แก่ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี มุมหนังสือ มุมศิลปะ ตามจินตนาการอย่างอิสระ

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามความสนใจ
2. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามจินตนาการ
3. ครูให้สัญญาณหมดเวลา
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
สื่ออุปกรณ์ในมุมเสริมประสบการณ์

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำกิจกรรมด้วยตนเองตามจินตนาการ
4. สังเกตการรอคอยตามลำดับก่อน - หลัง
5. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้ดี ทำงานประสานสัมพันธ์กันได้
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
4. เด็กรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้

เนื้อหา
เกมจับสีรุ้ง

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกายก่อนการเล่นเกมจับสีรุ้ง
2. เด็กและครูร่วมกันทบทวนข้อตกลงก่อนการเล่นเกมจับสีรุ้ง
3. ครูอธิบายและสาธิตวิธีการเล่นเกมจับสีรุ้ง
- ให้เด็ก 1 คนเป็นคนจับทายสี
- เด็กที่เหลือสำรวจสีที่อยู่ในร่างกายของตนเองว่าตรงกับคนจับสีหรือไม่ ถ้าใครมีสีที่คนจับสีบอกก็จะผ่านไปอีกฝั่งหนึ่งได้ ถ้าคนใดไม่มีต้องวิ่งผ่านด้วยตนเอง
- คนโดนจับได้ให้เป็นคนจับทายสีแทน
4. เด็กนั่งพักผ่อน และทำความสะอาดร่างกาย

สื่อการเรียน
-

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้ดี ทำงานประสานสัมพันธ์กัน
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
4. สังเกตการรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น


กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
3. เด็กเรียนรู้การแก้ปัญหาในการเล่นได้
4. เด็กรอคอยตามลำดับก่อน-หลังได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เกมเรียงลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติ


การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมเรียงลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 กลุ่ม
3. เด็ก ๆ เล่นเกมเรียงลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
4. เด็ก ๆ หมุนเวียนเปลี่ยนกันเล่นเกมเรียงลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
5. เด็ก ๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อการเรียน
เกมเรียงลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติและเกมที่เคยเล่นมาแล้ว


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
3.สังเกตการเรียนรู้การแก้ปัญหาในการเล่น
4. สังเกตการรอคอยตามลำดับก่อน-หลัง
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่




วันที่ 25 กรกฎาคม 2551


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
2. เด็กเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยายได้
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้

เนื้อหา
การเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยาย

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็ก ๆ หาพื้นที่ของตนเองโดยไม่ให้ชนกับเพื่อน
2. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะพื้นฐาน
- ตีกลอง ให้กระโดดอยู่กับที่
- เคาะแทมรีน ให้จับคู่กับเพื่อนแล้วย้ำเท้าอยู่กับที่
3. เด็ก ๆ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบคำบรรยาย เรื่อง ฝนผู้ให้ชีวิต
- ครูบรรยาย เรื่อง ฝนผู้ให้ชีวิต ให้เด็ก ๆ เคลื่อนไหวประกอบคำบรรยายตามจินตนาการ


สื่อการเรียน
เครื่องเคาะจังหวะ


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
2. สังเกตการเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยาย
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน


กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบกับครูได้
2. เด็กสามารถบอกประโยชน์และโทษของฝนได้
3.เด็กเสนอความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
4. เด็กสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของน้ำฝนที่มีมากได้

เนื้อหา
ประโยชน์และโทษของฝน

การดำเนินกิจกรรม
1. ครูเล่านิทานเรื่อง “ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์”
2. เด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน
3. เด็กและครูสนทนาซักถามเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของฝน
- น้ำฝนมีประโยชน์อย่างไร
- เด็ก ๆ คิดว่าน้ำฝนจะมีโทษหรืออันตรายกับเราหรือไม่ อย่างไร
4. เด็กและครูร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของฝน


สื่อการเรียน
1. หนังสือนิทาน
2. ภาพการใช้น้ำ
3. ภาพน้ำท่วม


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและสนทนาโต้ตอบกับครู
2. สังเกตการสามารถบอกประโยชน์และโทษของฝน
3. สังเกตการเสนอความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. สังเกตความสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของน้ำฝนที่มีมาก


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำผลงานตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
4. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้


เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมสีน้ำ กิจกรรมสีเทียน กิจกรรมการปั้นแป้งโด กิจกรรม ฉีกปะ กิจกรรมพิมพ์จากก้านกล้วย


การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามความสนใจ 1 – 2 อย่าง
2. เด็กลงมือทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
3. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อและครูฟัง
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ทำความสะอาดก่อนเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย


สื่อการเรียน
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำผลงานตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
4. สังเกตการเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟังตามความคิดและจินตนาการ
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจได้
3. เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเองตามจินตนาการได้
4. เด็กรอคอยตามลำดับก่อน - หลังได้
5. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เด็กทำกิจกรรมเสรี ได้แก่ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี มุมหนังสือ มุมศิลปะ ตามจินตนาการอย่างอิสระ

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเลือกทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามความสนใจ
2. เด็กทำกิจกรรมในมุมเสริมประสบการณ์ตามจินตนาการ
3. ครูให้สัญญาณหมดเวลา
4. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย


สื่อการเรียน
สื่ออุปกรณ์ในมุมเสริมประสบการณ์


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
3. สังเกตการทำกิจกรรมด้วยตนเองตามจินตนาการ
4. สังเกตการรอคอยตามลำดับก่อน - หลัง
5. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้ดี ทำงานประสานสัมพันธ์กันได้
3. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
4. เด็กรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้


เนื้อหา
เกมจับคู่สัตว์ฤดูฝน

การดำเนินกิจกรรม
1. เด็กเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกายก่อนการเล่นเกมจับคู่สัตว์ฤดูฝน
2. เด็กและครูร่วมกันทบทวนข้อตกลงก่อนการเล่นเกมจับคู่สัตว์ฤดูฝน
3. ครูอธิบายและสาธิตวิธีการเล่นเกมจับคู่สัตว์ฤดูฝน
- แบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน
- ให้แต่ละกลุ่มเป็น กบ ปลา กุ้ง ยุง อึ่งอ่าง
- เด็ก ๆ จำตนเองว่าเป็นสัตว์อะไร
- เด็ก ๆ ยืนคละกันเมื่อได้ยินสัญญาณให้วิ่งไปจับคู่กัน
4. เด็กเล่นเกมจับคู่สัตว์ฤดูฝน
5. เด็กนั่งพักผ่อน และทำความสะอาดร่างกาย


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง
2. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กได้ดี ทำงานประสานสัมพันธ์กัน
3. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
4. สังเกตการรู้จักรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น


กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครูได้
2. เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนได้
3. เด็กเรียนรู้การแก้ปัญหาในการเล่นได้
4. เด็กรอคอยตามลำดับก่อน-หลังได้
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้


เนื้อหา
เกมจับคู่ภาพ - คำฤดูฝน


การดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการเล่นเกมจับคู่ภาพ - คำฤดูฝน
2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 กลุ่ม
3. เด็ก ๆ เล่นเกมจับคู่ภาพ - คำฤดูฝน
4. เด็ก ๆ หมุนเวียนเปลี่ยนกันเล่นเกมจับคู่ภาพ - คำฤดูฝน
5. เด็ก ๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเกมการศึกษาที่เล่น
6. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย


สื่อการเรียน
เกมจับคู่ภาพ – คำฤดูฝน และเกมที่เคยเล่นมาแล้ว


ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของครู
2. สังเกตการเล่นร่วมกับเพื่อน
3.สังเกตการเรียนรู้การแก้ปัญหาในการเล่น
4. สังเกตการรอคอยตามลำดับก่อน-หลัง
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่