วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551

โครงการผลิตอุปกรณ์ประกอบฉากการเล่านิทาน


ฉากบ้านแสนสุข




ฉากบ่อปลา / บึง / แม่น้ำ / ทะเล




ฉากสวนดอกไม้ / ธรรมชาติ



ฉากกลางคืนพระจันทร์เสี้ยว




โครงการการผลิตอุปกรณ์ประกอบฉากการเล่านิทาน

หลักการและเหตุผล
ประสบการณ์ของเด็กปฐมวัยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมตามวัย ด้วยสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นหรือส่งเสริมให้เด็กเกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ที่ดีและมีความสุขต่อการทำกิจกรรม จากการอ่านหนังสือนิทาน การเล่นบทบาทสมมติร่วมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ตัวเด็กนั้นเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขกับฉากละครตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
ดังนั้นนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 5 จึงได้จัดตั้งโครงการการผลิตอุปกรณ์ประกอบฉากการเล่านิทานขึ้น เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งการอ่านหนังสือนิทาน การแสดงบทบาทสมมติประกอบตามจิตนาการ ซึ่งครูประจำชั้นก็สามารถที่จะส่งเสริมให้เด็กนั้นแสดงออกในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านความคิดสร้างสรรค์ การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การกล้าแสดงออก ด้านภาษา เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีพัฒนาการที่สูงขึ้นตามวัยอย่างเหมาะสมและมีความสุขต่อการเรียนรู้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมตามวัย
2. เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของเด็ก
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ผ่อนคลาย ไม่ตรึงเครียด
4. เพื่อเป็นมุมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยทุกช่วงอายุ

เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
เด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 200 คน เข้าร่วมโครงการผลิตอุปกรณ์ตกแต่งฉากประกอบการเล่านิทาน
ด้านคุณภาพ
เด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีความสนใจและมีความสุขต่อการเล่านิทานประกอบฉากละคร และเด็กสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่เหมาะสมตามวัยในระดับที่สูงขึ้น

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
ขั้นวางแผน
1. วางแผนและกำหนดหัวข้อการจัดทำโครงการ
2. เสนอหัวข้อการทำโครงการต่อผู้บริหาร
3. เสนอโครงการต่อผู้บริหารและครูประจำชั้นโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
4. ประสานงานกับโรงเรียนและติดต่อสถานที่ในการดำเนินงาน
ขั้นเตรียมการ
1. ติดต่อผู้บริหารเพื่อนำสื่อไปจัดวางการจัดประสบการณ์
2. สำรวจพื้นที่ในการจัดวางฉากละคร
3. นำเสนอโครงการด้วยการให้เด็กได้ทดลองเล่น
ขั้นตรวจสอบ
1. ตรวจสอบสื่ออุปกรณ์ในการประกอบฉาก
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของสถานที่ที่ใช้ในการจัดวางฉากละคร
วันและเวลาในการดำเนินโครงการ
เดือนกันยายน พ.ศ. 2551
สถานที่ดำเนินการ
ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

งบประมาณ
1. ค่าใช้จ่ายในการซื้อผ้าทำฉาก 300 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการทำอุปกรณ์เสริม 200 บาท
3. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 100 บาท

การประเมินผล
1. สังเกตการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในมุมฉากละคร
2. จำนวนเด็กนักเรียนที่เข้ามาร่วมทำกิจกรรมในมุมฉากละคร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็กมีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
2. เด็กทำสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
3. เด็กมีความสุขสนุกสนานกับการทำกิจกรรมในมุมฉากนิทาน
4. เด็กมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมตามวัย


ไม่มีความคิดเห็น: